วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบไข้เลือดออกผู้ใหญ่

แบบทดสอบไข้เลือดออกผู้ใหญ่

1. การให้สารน้ำในระยะไข้ ที่ยังไม่มีการรั่วของพลาสมาคือ……………………………………………
2. การให้สารน้ำในภาวะช็อกระดับ 4. คือ…………………………………………………….............
3. ข้อบ่งชี้ในการให้ Colloid solution……………...............................................................
4. สารน้ำ 5% deficit ที่จะให้ในเวลา 24 ชม.ของผู้ป่วย   ที่หนัก 70 กก. คือเท่าไร  คิดอย่างไร.....................................
5. พบผู้ป่วยเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 เซล/ลบ. จะให้การรักษาอย่างไร.................................................................
6. ในช็อกระดับ 3 สามารถ ให้สารน้ำที่มีเด๊กซ์โตสได้เนื่องจาก.........................................................................
7. ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีอาการช็อกเร็วที่สุดจะเกิดที่..........................................................................
8. ข้อบ่งชี้ในการให้เลือด(Fresh whole blood) คือ     ...........................................................................
9. ยกตัวอย่างโรคที่มีผลต่อการดำเนินโรคไข้เลือดออกมาสัก 3 โรค...........................................................................
10. จะส่งตรวจยืนยันการวินิจโรค (confirm diagnosis)     มีข้อบ่งชี้อย่างไร และจะส่งอะไรครับ.....................................

เฉลย 
1. การให้สารน้ำในระยะไข้ ที่ยังไม่มีการรั่วของพลาสมาคือ 
1.ให้ IV fluid เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน และรับประทานอาหาร/ดื่มน้ำเกลือแร่ไม่ได้ โดยเริ่มที่ rate 40 ml/hour เมื่อผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ระยะวิกฤต ให้ค่อยๆ เพิ่ม rate ขึ้น โดยปรับตามอาการทางคลินิก, vital signs, Hct และ urine 

2. การให้สารน้ำในภาวะช็อกระดับ 4. คือ 
ในผู้ป่วยที่มีอาการช็อกรุนแรงโดยที่ต้องให้ IV fluid ใน rate ที่มากกว่า 10 มล./กก./ชม. ไม่ควรให้IV fluid ที่มี Dextrose ร่วมด้วย เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ Hyperglycemia และมีการหลั่งของ Insulin มากผิดปกติได้ 

3. ข้อบ่งชี้ในการให้ Colloid solution 
เมื่อผู้ป่วยได้รับ crystalloid solutionในปริมาณมากแต่ยังมี unstable vital signs หรือยังคงมี Hct เพิ่มขึ้น 

4. สารน้ำ 5% deficit ที่จะให้ในเวลา 24 ชม.ของผู้ป่วยที่หนัก 70 กก. คือเท่าไร คิดอย่างไร 
MT + 5% deficit = 2100 + 5x10*50 = 4600 ml/day ผู้ใหญ่คิดนน.ไม่เกิน 50 กิโล 

5. พบผู้ป่วยเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 เซล/ลบ. จะให้การรักษาอย่างไร 
ไม่จำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดทุกราย จะให้เฉพาะในรายที่มี clinical significant bleeding เท่านั้น ถ้าไม่มีclinical bleeding ให้เห็น ควรพิจารณาให้ในรายที่มี platelet < 20,000 เซล/ลบ.มม. และมี prolonged partial thromboplastin time หรือ thrombin time มากๆ เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสที่จะมีเลือดออกได้มาก 

6. ในช็อกระดับ 3 สามารถ ให้สารน้ำที่มีเด๊กซ์โตสได้เนื่องจาก 
แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการช็อกไม่รุนแรง rate IV fluid ไม่เกิน 10 ซีซี/กก./ชม. เป็นเวลาไม่เกิน 1-2 ชม. การให้ 5% Dextrose ใน IV fluid จะได้ประโยชน์มากกว่า เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีภาวะ Hypoglycemia ร่วมอยู่ด้วยเพราะผู้ป่วยที่มีอาการช็อกส่วนใหญ่จะเบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย และมีอาเจียนร่วมด้วยเสมอ 

7. ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีอาการช็อกเร็วที่สุดจะเกิดที่กี่วัน 
3 วัน 

8. ข้อบ่งชี้ในการให้เลือด(Fresh whole blood) คือ 
ผู้ป่วยที่ยังช็อก หรือมี unstable vital signs หรือไม่สามารถลด rate ของ IV fluid ลงได้ และมี Hct ลดลงจากระยะ ที่ช็อก* หลังจาก ได้รับ IV fluid มากเกินพอ (อาจมีเลือดออกภายใน) ในกรณีที่ Hct อยู่ระหว่าง 35-45% เลือดที่ให้ควรเป็น Fresh whole blood (FWB) 10 มล./กก./ครั้ง หรือ Pack red cell (PRC) 5 มล./กก./ ครั้ง หลังให้เลือดแล้วควรติดตามดูระดับ Hct, vital signs เพราะอาจมีเลือดออกภายในมากกว่าที่ปรากฏให้เห็น 

9. ยกตัวอย่างโรคที่มีผลต่อการดำเนินโรคไข้เลือดออกมาสัก 3 โรค 
-Peptic ulcer vจทำให้มีโอกาสเลือดมากขึ้น 
-Hypertension: ช็อกแล้วแต่ BP ไม่ต่ำ 
-Severe chronic liver and renal disesae อาจมีผลให้เกิด Coagulopathy 
-Heart disease อาจมีปัญหาการให้สารน้ำ 

10. จะส่งตรวจยืนยันการวินิจโรค (confirm diagnosis) มีข้อบ่งชี้อย่างไร และจะส่งอะไรครับ 
ทำในเฉพาะในการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ที่ยังไม่มีรายงานโรค, รายที่มีอาการผิดไปจากปกติ (Unusual manifestations) รายที่เสียชีวิตหรือในกรณีทำการวิจัย การตรวจเช่น 
-Enzyme Link Immunosorbent Assay ( ELISA ) 
-Polymerase Chain Reaction ( PCR ) 
-การเพาะแยกเชื้อ ( Virus Isolation )


ขอขอบคุณ.....http://phimaimedicine.blogspot.com/2011_05_01_archive.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น